Wednesday, October 6, 2010

สิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของประชาชน

รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐


หมวด ๓
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ ๑๑
เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม

มาตรา ๖๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่นๆ

ข้าราชการแลและเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบกับประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน และความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งนี้ตามที่กฏหมายบัญญัติ

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึและว่งรรคสอง จะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฏหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนทางเศรษฐกิจ


หมวด ๕
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ส่วนที่ ๑๐
แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

มาตรา ๘๗ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพหรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื่น
(๔) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
(๕) ส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
การมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรานี้ต้องคำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน

10 ปี การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (2543-2552)

ฤาการเดินทางเพื่อกลับมา “หยุด” ตรงจุดเดิม
ณัฐกร วิทิตานนท์
ที่มา : ประชาไท

กระจายอำนาจ คำจำกัดความ
เมื่อเอ่ยถึง “การกระจายอำนาจ” (Decentralization) คำอธิบายที่ได้ย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ทัศนะมุมมอง เป็นต้นว่าอาจมอง “ที่ไป” ของอำนาจรัฐที่จะถูกกระจายผิดแผกกัน เช่นให้แก่ ‘ประชาชน’ เองเลย (เป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม นอกเหนือจากการเลือกตั้ง ก็เช่นการทำประชามติ การริเริ่มกฎหมาย และการถอดถอน ฯลฯ) หรือกระจายไปที่ ‘หน่วยงานอิสระ’ ทั้งหลายทั้งปวง (ไม่ว่าจะเป็นศาล องค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ) หรือไปยัง ‘กลไกอื่นของรัฐ’ อื่นๆ (ได้แก่ส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง) หรือฝากไว้กับ ‘ชุมชนท้องถิ่น’ ใด (เช่นตามกฎหมายสภาองค์กรชุมชน) กระทั่งลงสู่ ‘องค์กรปกครองท้องถิ่น’ (อปท.) (ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นต้น)


โครงสร้างการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบใหม่ตามกฎหมาย